วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โอเมก้า 3 จากปลาทะเล



โอเมก้า 3 จากปลาทะเล

น้ำมันหรือไขมันจากเนื้อ ปลาทะเลมีองค์ประกอบแตกต่างจากน้ำมันพืชทั่วไป คือน้ำมันจากปลาทะเลจะมีกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty Acid) ต่อร่างกาย โดยเฉพาะกรดไขมันประเภทโอเมกา-3 ซึ่งมีอยู่เป็นปริมาณมาก กรดไขมันที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่กรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic Acid : DHA) และกรดไอโคซาเพนตะอีโนอิก (Eicosapentaenoic Acid : EPA) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีความสำคัญต่อระบบสรีรวิทยาของร่างกาย ระบบการเติบโต และเยื่อเซลล์  


น้ำมันจากเนื้อปลาทะเลแตกต่างจากน้ำมันตับ ปลา คือน้ำมันตับปลาเป็นน้ำมันที่สกัดมาจากตับของปลาทะเลบางชนิด เช่น ปลาคอด (Cod Fish) น้ำมันปลาเหล่านี้มีวิตามิน A และ D อยู่ ในปริมาณสูง ไขมันในรูปไตรกลีเซอไรด์ของน้ำมันก็มีปริมาณกรดไขมันประเภทโอเมกา-3 ค่อนข้างสูง แต่ก็มีกรดไขมันพวกที่มีพันธะคู่ 1 พันธะ (Monoenoic Acid) เป็นปริมาณสูงด้วย ซึ่งการบริโภควิตามิน A และ D มากๆ ทำให้เกิด Toxicity จากวิตามิน A และ D ได้  

น้ำมันปลาเป็นน้ำมันที่ สกัดมาจากส่วนหัว หรือเนื้อปลาทะเล โดยน้ำมันที่สกัดได้จะเป็น Crude Oil ซึ่งสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เช่น อาหารกุ้ง อาหารปลา ประโยชน์ที่มีต่อสัตว์ได้แก่ เป็นตัวกำเนิดของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตและเกี่ยวข้องกับระบบ สืบพันธุ์ เป็นตัวกำเนิดฮอร์โมนที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดและโปรตีนที่สร้างภูมิต้านทาน โรค มีผลต่อผนังเซลล์ การยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ และการแพร่ผ่านของสารอาหารโดยเฉพาะในขณะที่อุณหภูมิต่ำ มีผลต่อระยะเวลาการลอกคราบของกุ้ง ช่วยประหยัดโปรตีน เพิ่มประสิทธิภาพของอาหาร และทำให้แป้งและโปรตีนไม่ถูกทำลาย ทำให้อัตราการแลกเปลี่ยนเนื้อต่ำ มีการใช้อาหารน้อยลง มีโคเลสเตอรอลสูงถึง 1% ซึ่งกุ้งสามารถนำไปสร้างฮอร์โมนที่ใช้ในการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ การลอกคราบ และสร้างวิตามิน D อีกทั้งยังเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ชั้นล่างด้วย


เมื่อนำ Crude Oil มาผ่านกรรมวิธีการกลั่นให้บริสุทธิ์ จะได้น้ำมันที่ผ่านกรรมวิธีโดยน้ำมันปลาที่ได้นี้จะมีปริมาณ DHA และ EPA แตกต่างกันไปตามชนิดของเนื้อปลา (ตารางที่ 1) โดยจะพบว่าปลาทูน่ามีปริมาณของ DHA และ EPA สูงมาก  
ตารางที่ 1 ปริมาณ DHA และ EPA ในปลาทะเลบางชนิด

ชนิดของปลา
ปริมาณ (มิลลิกรัม/100กรัม)
...
DHA
EPA
ปลาทูน่า (Tuna)
2877
1288
ปลาข้างเหลือง(Yellowtail)
1785
898
ปลาทู (Mackerel)
1781
1214
Mackerel Pike
1398
844
ปลาไหล (Eel)
1332
742
ปลาซาร์ดีน (Sardine)
1136
1381
ปลาเทราต์ (Rainbow Trout)
983
247
ปลาแซลมอน(Salmon)
820
492
Horse-Mackerel
748
408
ปลาไหลทะเล (Conger Eel)
661
472
ปลาโอลาย (Bonito)
310
78
ปลาตะเพียนทะเล(Sea Bream)
297
157
ปลาคาร์พ (Carp)
288
159
ปลาลิ้นหมา (Fletifish)
202
210




น้ำมันที่ผ่านกรรมวิธีนี้ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ โดยช่วยลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด ช่วยป้องกันการสะสมของโคเลสเตอรอลตามผนังหลอดเลือด โดยโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดจะถูกพากลับไปที่ตับเพื่อเผาผลาญหรือนำไปใช้ใน การสร้างวิตามินและฮอร์โมนเพศที่ร่างกายต้องการ ช่วยป้องกันการเป็นโรคหัวใจเฉียบพลันเนื่องจากโลหิตจับเป็นก้อน ชะลอการเกิดหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว และช่วยลดความดันโลหิต นอกจากนี้ประโยชน์ที่สำคัญอื่นๆ ของน้ำมันปลาได้แก่ ส่งเสริมการพัฒนาทางสมองของทารกในครรภ์และช่วยให้สมองของมนุษย์ทำงานได้ดี ขึ้น ป้องกันโรคความจำเสื่อม ช่วยลดอาการปวดบวมของผู้ป่วยที่เป็นโรคไขข้ออักเสบ  


ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมปลา ทูน่ากระป๋องมาก มาย ในปี พ.ศ. 2536 มีการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องเป็นปริมาณ 229,901 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 13,062.8 ล้านบาท และมีน้ำมันปลาทูน่าเป็นผลพลอยได้รวมประมาณ 1500-2000 ตันต่อปี น้ำมันปลาทูน่าเหล่านี้จะจำหน่ายในรูปของน้ำมันดิบและน้ำมันกึ่งรีฟายน์ให้ แก่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ในราคากิโลกรัมละ 15-65 บาท หากมีการทำให้บริสุทธิ์ขึ้นจะสามารถนำน้ำมันปลาไปใช้ในลักษณะอื่นๆ เช่น ใช้เป็นอาหารเสริมโดยบรรจุอยู่ในรูปแคปซูล ใช้ในรูปของอาหารทั่วๆไป โดยนำน้ำมันปลาผสมในอาหารต่างๆ ใช้ในการผลิต Salad oil, Table magarines, Low calories spread, Industrial magarines และ Shotenings ที่ใช้ในการทำขนมปัง Pastries, Cakes, Cookies, Biscuits, Imitation creams และ Emulsifiers 


เนื่องจากน้ำมันปลามี ประโยชน์ดังที่กล่าว มา ดังนั้นน่าจะต้องมีการศึกษาและพัฒนาการผลิตน้ำมันปลาให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะทำน้ำมันนี้ให้บริสุทธิ์ และเพิ่มความเข้มข้นของกรดไขมัน DHA และ EPA เพื่อให้ได้น้ำมันที่มีคุณค่าเหมาะสมต่อการบริโภคของคน อันจะเป็นการเพิ่มคุณค่าของทรัพยากรและลดการนำเข้าน้ำมันปลาเพื่อใช้เป็น อาหารเสริมได้ นอกจากนี้ยังจะส่งผลให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ เช่น ฟอสฟอลิปิดที่มีกรดไขมัน DHA และ EPA ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเยื่อเซลล์ของสมองและนัยน์ตา น้ำมันปลาทูน่าเป็นน้ำมันที่มีคุณค่าสูงกว่าน้ำมันตับปลาคอด ที่วางจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไปคือ น้ำมันปลาทูน่ามีปริมาณ DHA สูงมาก 25-28% และ EPA 5-8% ในขณะที่น้ำมันตับปลาคอดจะมีปริมาณ DHA เพียง 8% และ EPA 12.8% (1) นั่นคือประเทศไทยมีแหล่งน้ำมันปลาทะเลที่มีคุณค่าอย่างมาก แต่ยังสามารถพัฒนานำไปใช้ประโยชน์ได้เพียงส่วนน้อย



1 ความคิดเห็น: